แหล่งท่องเที่ยวด้านประเพณี
ประเพณีสงกรานต์ไทยเริ่มวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี วันสงกรานต์ ถือเป็น วันปีใหม่ไทย ที่คนไทยยึดถือสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป" ที่หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่น ๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ซึ่งตามปกติแล้วพระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน หรือเรียกว่าเป็นการย้ายจากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์ เรียกว่า "ยกขึ้นสู่"
วันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ เป็นวันสิ้นปีเก่าเตรียมเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ ผู้คนก็จะปัดกวาด ทำความสะอาดบ้าน เพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีให้ออกไปจากบ้าน เป็นการต้อนรับปีใหม่ บางบ้านก็จะยิงปืน จุดประทัด หรือทำอะไรก็ได้ให้เกิดเสียงดัง เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไป
วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาหรือวันเน่า ตามวัดวาอารามต่างๆ จะมีการเตรียมงานทำบุญสงกรานต์ ตอนบ่ายๆ จะมีการขนทรายเข้าวัดเตรียมก่อเจดีย์ทราย ในวันนี้คนโบราณมีความเชื่อว่า ห้ามพูดจาไม่ดีต่อกัน ห้ามทะเลาะเบาะแว้ง เพราะจะทำให้โชคไม่ดีไปตลอดปี
วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกหรือวันพญาวัน เป็นวันที่ผู้คนพากันเข้าวัด ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัว ขอพรจากผู้สูงอายุ ผู้อาวุโสในชุมชน ก่อเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำของหนุ่มสาว เป็นโอกาสสำคัญที่หนุ่มสาวจะได้พบปะกันพูดคุยกัน
แหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์
สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลตำบลส่องดาว
ประวัติ พระอมราธิราชรินทร์ ผู้ก่อตั้งบ้านส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
เมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว พื้นที่อำเภอส่องดาว เป็นป่าทึบและภูเขาเป็นที่หลบซ่อนของโจรผู้ร้าย ที่คอยปล้นสดมภ์ผู้เดินทางแถบจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดอุดรธานี จนได้รับฉายาว่า "ซ่องดาวโจร" ประมาณ พ.ศ. 2400 เจ้าเมืองสกลนคร เห็นว่าราษฎรแถบนี้ได้รับความเดือดร้อนจากโจรผู้ร้าย ท่านจึงแต่งตั้งพระอมราธิราชรินทร์ บุตรพระยาเขื่อนแก้วเป็นนายด่านบ้านซ่องดาวโจร พระอมราธิราชรินทร์ ปกครองราษฎรบ้านซ่องดาวด้วยคุณธรรมของนักปกครอง สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎร และผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบ้านซ่องดาวโจร เป็น "ช่องดาว" ขึ้นกับตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ ต่อมาได้เปลี่ยนมาขึ้นกับอำเภอสว่างแดนดิน เหตุที่เปลี่ยนจาก "ซ่องดาว" เป็น "ส่องดาว" ก็เพื่อให้เหมาะสมทางด้านภาษา แต่ก็มีความเชื่อหนึ่งว่า ชาวบ้านได้ขุดบ่อน้ำที่สถานีอนามัยตำบลส่องดาว แล้วทำพิธีขอฝนแล้วดูที่บ่อก็มองเห็นดาวทั้งที่เป็นเวลากลางวัน จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า "ส่องดาว" แทน "ซ่องดาว"
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอส่องดาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
• ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดิน
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดินและอำเภอวาริชภูมิ
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอและอำเภอไชยวาน (จังหวัดอุดรธานี)
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดิน
แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล
อำเภอส่องดาวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 46 หมู่บ้าน
1. ส่องดาว (Song Dao) 12 หมู่บ้าน
2. ท่าศิลา (Tha Sila) 13 หมู่บ้าน
3. วัฒนา (Watthana) 9 หมู่บ้าน
4. ปทุมวาปี (Pathum Wapi) 12 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอส่องดาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
• เทศบาลตำบลส่องดาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลส่องดาวและบางส่วนของตำบลปทุมวาปี
• เทศบาลตำบลท่าศิลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าศิลาทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลส่องดาวหนองแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลส่องดาว (นอกเขตเทศบาลตำบลส่องดาว)
• เทศบาลตำบลปทุมวาปี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปทุมวาปี (นอกเขตเทศบาลตำบลส่องดาว)
• เทศบาลตำบลวัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัฒนาทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
รอปรับปรุง
รูปภาพ
รอปรับปรุง
รูปภาพ
รอปรับปรุง